ภาษาจีน/คำศัพท์/วิชา
คำศัพท์ | พินอิน | คำอ่าน | ความหมาย |
科目 | kēmù | เคอมู่ | วิชา |
医学 | yīxué | อีเสีย | แพทย์ศาสตร์ |
物理学 | wùlǐxué | อู้หลี่เสีย | ฟิสิกส์ |
语言学 | yǔyánxué | ยวี่เหยียนเสีย | ภาษาศาสตร์ |
哲学 | zhéxué | เจ๋อเสีย | ปรัชญา |
历史 | lìshǐ | ลี่สื่อ | ประวัติศาสตร์ |
法学 | fǎxué | ฝ่าเสีย | นิติศาสตร์ |
生物学 | shēngwùxué | เซิงอู้เสีย | ชีววิทยา |
化学 | huàxué | ฮว่าเสีย | เคมี |
数学 | shùxué | ซุ่เสีย | คณิตศาสตร์ |
经济学 | jīngjìxué | จิ้งจื่อ | เศรษศาสตร์ |
教育学 | jiàoyùxué | เจี้ยวยวี่เสีย | ศึกษาศาตร์ |
人文学科 | rénwénkēxué | เหรินเหวินเคอเสีย | ศิลปศาสตร์ |
工程学 | gōngchēngxué | กงเฉิงชือ | วิศวกรรมศาสตร์ |
文学 | wénxué | เหวินเสีย | วรรณคดี |
政治学 | zhèngzhìxué | เจิ้งจื่อเสีย | รัฐศาตร์ |
地理学 | dìlǐxué | ตี้หลี่เสีย | ภูมิศาสตร์ |
药学 | yàoxué | เย่าเสีย | เภสัชศาสตร์ |
营养 | yíngyáng | หยิงหยาง | โภชนาการ |
ประวัติวันตรุษจีน
“เทศกาลตรุษจีน” หรือ “วันตรุษจีน” ไม่ได้ถูกบันทึกไว้อย่างชัดเจนว่าเริ่มต้นเมื่อไหร่ จากการค้นคว้าของ กิตติธัช นําพิทักษ์ชัยกุล ทายาทรุ่นที่ 3 เจ้าของกิจการปฏิทินน่ำเอี้ยง ซึ่งเป็นปฏิทินจีนฉบับภาษาไทยที่ได้รับความนิยมมากในไทย ได้พบข้อมูลว่าเทศกาลตรุษจีนอาจเริ่มต้นในราชวงศ์โจว 周朝 (1046-256 ปีก่อนคริสตศักราช) เริ่มใช้คำว่า “Nián (年)” ซึ่งมีความหมายว่า “ปี” ในวันขึ้นปีใหม่ของชาวจีน ตรงกับปฏิทินตามจันทรคติจีน ในวันที่ 1 เดือน 1 และชาวจีนเริ่มนิยมสักการะเทพเจ้า และบรรพบุรุษ เพื่อขอพรจากฟ้าดิน ให้พืชผลทางการเกษตรงอกงาม มีกิน มีใช้ ตลอดทั้งปี
ดังนั้น เทศกาลปีใหม่จีนจึงไม่ตรงกันในแต่ละปี และไม่ตรงกับปฏิทินสากล โดย “วันตรุษจีน” จะอยู่ในช่วงปลายเดือนมกราคม-กลางเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี ซึ่งเป็นช่วงสิ้นสุดของฤดูหนาว (大寒 ) และเริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิ (立春) ที่แสงอาทิตย์มีอิทธิพลสร้างความอบอุ่น บรรเทาความหนาวจนสิ้นสุดลง และดอกไม้ต่างๆ เริ่มผลิบาน จึงตั้งเป็นวันแรกของฤดูทั้ง 24 ตามปฏิทินจันทรคติของจีน
สมัยนั้นชาวจีนให้ความสำคัญกับการเพาะปลูก จึงให้ความสำคัญกับปฏิทินจันทรคติด้วย เพื่อเตรียมเพาะปลูก เก็บเกี่ยว รวมถึงเตรียมไหว้เทพเจ้าในวันสำคัญตามความเชื่อทางศาสนา
เมื่อมองกลับมาที่ประเทศไทยมีชาวไทยเชื้อสายจีนอาศัยอยู่มาก ในปี 2562 SCB Economic Intelligence Center (EIC) ได้เผยแพร่ข้อมูลว่า จำนวนครัวเรือนไทย 96% มีค่าใช้จ่ายเพื่อการกุศล โดยสัดส่วนของค่าใช้จ่ายในการทำบุญ ไหว้เจ้า รวมทั้งประเทศในปี 2560 อยู่ที่ประมาณ 1.3 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 6,200 บาท ต่อครัวเรือน และครอบครัวที่มีผู้สูงอายุ มีค่าใช้จ่ายเพื่อการกุศลมากกว่า สอดคล้องกับพฤติกรรมการไหว้เจ้าของชาวไทยเชื้อสายจีนที่ผู้สูงวัยมักจะเป็นผู้นำของกิจกรรมจับจ่ายซื้อของไหว้เจ้า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น